
กรณีทำหนังสือเดินทางสูญหาย
หากท่านทำหนังสือเดินทางสูญหาย และประสงค์จะทำหนังสือเดินทางเล่มใหม่ที่สถานเอกอัครราชทูตฯ (เหมาะสำหรับผู้ที่ไม่ต้องการเดินทางกลับไทยเร่งด่วน และพำนักอยู่ที่กัมพูชาอยู่แล้ว)
เอกสารประกอบการยื่นคำร้อง
- ใบแจ้งความ ออกโดยสถานีตำรวจกัมพูชา
- สำเนาหนังสือเดินทาง (หากมี)
- บัตรประจำตัวประชาชน หรือหนังสือรับรองบุคคลติดรูปถ่าย หรือสำเนาทะเบียนบ้าน 1 ชุด
- สำเนาใบเปลี่ยนชื่อ(กรณีชื่อไม่ตรงกับหนังสือเดินทาง) (หากมี)
- สำเนาใบทะเบียนสมรสหรือหย่า หรือ ใบฐานะครอบครัวสมรสหรือหย่า (กรณีนามสกุลไม่ตรงกับหนังสือเดินทาง)
หมายเหตุ
- ผู้ร้องต้องมายื่นคำร้องทำหนังสือเดินทางที่สถานเอกอัครราชทูตฯ ด้วยตนเอง
- หากข้อมูลในหนังสือเดินทางไม่ตรงกับข้อมูลทะเบียนบ้าน เช่น นามสกุล วัน เดือน ปีเกิด ต้องแก้ไขรายการในทะเบียนบ้านที่อำเภอไทยให้ถูกต้องก่อน
- ค่าธรรมเนียมการทำหนังสือเดินทาง หากชำระแล้วไม่สามารถเรียกคืนได้ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น
ค่าธรรมเนียม 35 ดอลลาร์สหรัฐ
หนังสือเดินทางจะใช้เวลาผลิตเล่มและจัดส่งประมาณ 2 สัปดาห์นับจากวันชำระค่าธรรมเนียม
หนังสือสำคัญประจำตัวหรือ C.I.
กรณีที่หนังสือเดินทางสูญหาย และต้องการจะเดินทางกลับประเทศไทยเร่งด่วน ผู้ร้องจะต้องยื่นคำร้องขอที่สถานเอกอัครราชทูตฯ ด้วยตนเอง เพื่อขอทำหนังสือสำคัญประจำตัวหรือซีไอ เพื่อใช้เป็นเอกสารเดินทางกลับประเทศไทยได้เท่านั้น
เอกสารประกอบการยื่นคำร้อง
- สำเนาเอกสารแสดงตัวบุคคลของไทย เช่น สำเนาหนังสือเดินทาง สำเนาบัตรประชาชนไทย สำเนาทะเบียนบ้านไทย
- รูปถ่ายสี ขนาด 4×4 ซ.ม. จำนวน 2 รูป
- ใบแจ้งความ ออกโดยสถานีตำรวจกัมพูชา
ขั้นตอนการดำเนินการ ในกรณีที่หนังสือเดินทางสูญหาย
- แจ้งความกรณีหนังสือเดินทาง/ทรัพย์สินสูญหายที่สถานีตำรวจกัมพูชา
- ถ่ายภาพสี ขนาด 4×4 ซ.ม. จำนวน 2 รูป
- นำเอกสารประกอบการยื่นคำร้อง มายื่นที่สถานเอกอัครราชทูตฯ เพื่อขอทำหนังสือสำคัญประจำตัวหรือ C.I.
- นำหนังสือสำคัญประจำตัว และหนังสือนำจากสถานเอกอัครราชทูตฯ ไปที่สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองกัมพูชา เพื่อทำ Exit Visa (ค่าธรรมเนียม 40 ดอลลาร์สหรัฐ ใช้เวลา 3 วันทำการ)
ที่อยู่ : នាយកដ្ឋាន អន្តោ ប្រវេសន៍
No 332, Confederation de la Russie (110), Phnom Penh
เวลาทำการ วันจันทร์ – ศุกร์ เวลา 07.30 – 17.00 น. - เดินทางออกจากกัมพูชาภายใน 30 วัน
ไม่มีค่าธรรมเนียม
หนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์
เอกสารประกอบการยื่นคำร้อง
กรณีผู้บรรลุนิติภาวะแล้ว (อายุ 20 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป)
- บัตรประจำตัวประชาชน (ฉบับจริง) ที่ยังไม่หมดอายุและไม่ถูกยกเลิก
- หนังสือเดินทางเล่มเดิม (ถ้ามี) เฉพาะกรณีหนังสือเดินทางเล่มเดิมที่ยังมีอายุการ ใช้งานหรือใบแจ้งความเฉพาะกรณีหนังสือเดินทางเล่มเดิมที่ยังมีอายุการใช้งานหาย
เอกสารยื่นประกอบ
- ใบทะเบียนสมรสหรือหย่า หรือใบฐานะครอบครัวสมรสหรือหย่า (กรณีชื่อไม่ตรงกับหนังสือเดินทาง)
- ใบเปลี่ยนชื่อ (กรณีชื่อไม่ตรงกับหนังสือเดินทาง)
กรณีผู้เยาว์ (อายุต่ำกว่า 20 ปีบริบูรณ์)
- บัตรประจำตัวประชาชนของผู้เยาว์ (ฉบับจริง) ที่ยังมีอายุการใช้งาน
- สูติบัตร (กรณีผู้เยาว์อายุยังไม่ถึง 15 ปีบริบูรณ์ และยังไม่ได้ทำบัตรประจำตัวประชาชน)
- บัตรประจำตัวประชาชนของบิดา (หากบิดาเป็นชาวต่างชาติให้ใช้หนังสือเดินทางฉบับจริงของบิดา)
- บัตรประจำตัวประชาชนของมารดา (หากมารดาเป็นชาวต่างชาติให้ใช้หนังสือเดินทางฉบับจริงของมารดา)
เอกสารยื่นประกอบกรณีผู้เยาว์อายุต่ำกว่า 20 ปีบริบูรณ์
- สำเนาใบเปลี่ยนชื่อบุตร (กรณีชื่อไม่ตรงกับสูติบัตร)
- สำเนาใบเปลี่ยนชื่อบิดาหรือมารดา (กรณีชื่อไม่ตรงกันกับสูติบัตรของบุตร)
- สำเนาใบทะเบียนสมรส/หย่า/ฐานะครอบครัวสมรส/หย่า (หากสมรสหรือหย่า)
หมายเหตุ บิดามารดาและบุตรต้องมายื่นคำร้องฯ ด้วยตนเองที่สถานเอกอัครราชทูตฯ
1. กรณีบิดาหรือมารดา หรือทั้งสอง ไม่สามารถมาลงนามให้ความยินยอมได้ ให้บุคคลที่ไม่สามารถมาลงนามให้ความยินยอมฯ ต่อหน้าเจ้าหน้าที่ ทำหนังสือยินยอมให้ผู้เยาว์เดินทางไปต่างประเทศจากอำเภอ สำนักงานเขตหรือสำนักทะเบียนท้องถิ่น หรือจากสถานเอกอัครราชทูตไทย สถานกงสุลใหญ่ไทย กรณีที่บิดาหรือมารดาอยู่ในต่างประเทศ
*** เฉพาะกรณีผู้เยาว์อายุต่ำกว่า 15 ปี บริบูรณ์ที่บิดาและมารดาไม่สามารถมาลงนามให้ความยินยอมต่อหน้าเจ้าหน้าที่ได้ให้ทำหนังสือมอบอำนาจ จากอำเภอ สำนักงานเขต หรือสำนักทะเบียนท้องถิ่นหรือจากสถานเอกอัครราชทูตไทย หรือสถานกงสุลใหญ่ไทยกรณีที่บิดาหรือมารดาอยู่ในต่างประเทศให้ผู้อื่น (ที่บรรลุนิติภาวะอายุ 20 ปีบริบูรณ์ ขึ้นไป) เป็นผู้พาผู้เยาว์มายื่นคำร้องขอทำหนังสือเดินทางเพิ่มเติมจากหนังสือยินยอมฯ พร้อมบัตรประชาชนผู้รับมอบอำนาจ
2. กรณีบิดามารดามิได้จดทะเบียนสมรสและผู้เยาว์อยู่ในความอุปการะของมารดา มารดาสามารถลงนามให้ความยินยอมฯ ได้ฝ่ายเดียวพร้อมกับบันทึกคำให้การรับรองการปกครองบุตร (ป.ค.14) ที่ออกโดยอำเภอ สำนักงานเขต หรือสำนักทะเบียนท้องถิ่น และบัตรประจำตัวประชาชนของมารดา
3. กรณีบิดาและมารดาจดทะเบียนหย่า บิดาหรือมารดาที่ระบุให้เป็นผู้ใช้อำนาจปกครองผู้เยาว์แต่ผู้เดียว ในบันทึกการหย่า สามารถเป็นผู้ลงนามให้ความยินยอมฯ ได้ฝ่ายเดียว พร้อมบัตรประจำตัวประชาชนของบิดาหรือมารดาแล้วแต่กรณี ให้ผู้ปกครองที่มีชื่อระบุตามคำสั่งศาลเป็นผู้ลงนามให้ความยินยอมฯ พร้อมกับคำสั่งศาลฯ (และบัตรประจำตัวประชาชนผู้มีอำนาจปกครองตามคำสั่งศาล
ค่าธรรมเนียม 35 ดอลลาร์สหรัฐ
หนังสือเดินทางจะใช้เวลาผลิตเล่มและจัดส่งประมาณ 2 สัปดาห์ นับจากวันชำระค่าธรรมเนียม
อ้างอิงข้อมูลจาก : http://www.thaiembassy.org/phnompenh/th/services/6259