
การทำวีซ่าในประเทศกัมพูชา
การทำวีซ่าพำนักในประเทศกัมพูชา ใช้หนังสือเดินทาง (Passport) และบัตรประชาชน ในการผ่านแดนข้ามไปทางตม.ไทยจะประทับตราออกจากประเทศ และตม.กับพูชาก็จะประทับตราเข้าประเทศ และสามารถอยู่ได้ไม่เกิน 14 วัน ในกรณีที่นีกท่องเที่ยวอยู่เกิน 14 วัน จะต้องเสียค่าปรับวันละ 300 บาท
กัมพูชาได้แบ่งประเภทการทําวีซ่าเป็น 2 ประเภท คือ วีซ่านักท่องเที่ยว และวีซ่าธุรกิจ สําหรับวีซ่า ท่องเที่ยวมีค่าใช้จ่าย 20 USD เมื่อมาถึงที่สนามบินนานาชาติพนมเปญโดยผู้ที่ได้รับวีซ่านักท่องเที่ยวสามารถ อยู่ในกัมพูชาได้ 1 เดือน และจะได้รับการต่ออายุให้อีก 1 ครั้งโดยไม่ต้องออกนอกประเทศ ปัจจุบันกัมพูชาได้ พัฒนาการระบบการขอวีซ่านักท่องเที่ยวโดยใช้ระบบออนไลน์ผ่าน http://www mfaic.gov.kh พร้อมทั้งการชําระเงิน 20 USD ผ่าน PayPal เพื่อหลีกเลี่ยงคิวยาวในขั้นตอนการตรวจคนเข้าเมือง อย่างไรก็ ตาม E-Visa ใช้ได้เฉพาะ วีซ่านักท่องเที่ยวเท่านั้น ดังนั้น สําหรับผู้ที่จะมาทําธุรกิจที่ต้องการพํานักอยู่ใน ประเทศกัมพูชาเป็นระยะเวลานานหรือต้องการ multiple visa ยังต้องยื่นขอวีซ่าผ่านทางช่องทางเดิม (เจ้าหน้าที่)

สําหรับบุคคลที่ต้องการอยู่ในประเทศนานกว่าสองเดือนหรือหากทํางานจําเป็นต้องมีวีซ่าธุรกิจ โดยใช้ หลักการเดียวกับการขอวีซ่านักท่องเที่ยว คือ ยื่นขอวีซ่าเมื่อมาถึงสนามบินนานาชาติพนมเปญ โดยมีราคา 25 USD โดยจะต้องระบุรายละเอียดต่างๆ ในแบบฟอร์มขอวีซ่า และยื่นเอกสารพร้อมกับพาสปอร์ต (พาสปอร์ต จะต้องมีอายุมากกว่า 6 เดือน และมีหน้าว่างอย่างน้อย 1 หน้า) โดยใช้ร่วมกับภาพถ่าย และไม่จําเป็นต้องใช้ หลักฐานการจ้างงานแต่อย่างใดวีซ่าธุรกิจจะมีอายุ 1 เดือน แต่สามารถขยายเป็น 1, 3, 6, และ 12 เดือน ได้ โดยไม่ต้องออกนอกประเทศ แต่อย่างไรก็ตาม วีซ่าธุรกิจ 1 และ 3 เดือนเป็นเพียง single visa เท่านั้นถ้าออก นอกประเทศไปแล้วต้องขอวีซ่าใหม่ แต่ในส่วนของวีซ่าธุรกิจ 6 และ 12 เดือน จะเป็น multiple visa ที่ สามารถเข้าออกนอกประเทศได้โดยวีซ่าไม่หมดอายุปกติแล้วการยื่นวีซ่าธุรกิจสามารถทําได้ด้วยตนเองที่ สํานักงานตรวจคนเข้าเมืองที่อยู่ใกล้สนามบินนานาชาติพนมเปญแต่จะมีขั้นตอนที่ยุ่งยากและจะต้องมีเงิน พิเศษเพื่ออํานวยความสะดวกในการทําวีซ่าธุรกิจ ดังนั้น เพื่อความสะดวกในการทําวีซ่าธุรกิจ นักธุรกิจส่วน ใหญ่ จะใช้บริษัทท่องเที่ยวเป็นตัวแทนจัดการเรื่องวีซ่าให้เนื่องจากมีความสะดวกรวดเร็ว แต่ก็จะมี ค่าธรรมเนียมในการจัดการตามความเหมาะสม ซึ่งอัตราค่าธรรมเนียมวีซ่ามีดังนี้
- 1 เดือน 30 Dollar
- 3 เดือน 75 Dollar
- 6 เดือน 150 Dollar
- 12 เดือน 280 Dollar
ใบอนุญาตทำงานในกัมพูชา
ชาวต่างชาติที่มาทํางานในกัมพูชาจะต้องมีใบอนุญาตทํางานและบัตรการจ้างงานที่ออกโดยกระทรวง แรงงาน โดยจะได้รับจากนายจ้าง ซึ่งจะต้องต่ออายุทุก 1 ปี ซึ่งใบอนุญาตทํางานสําหรับชาวต่างชาติในกัมพูชา แบ่งเป็น 2 ประเภท ดังนี้
- ใบอนุญาตทํางานชั่วคราวสําหรับชาวต่างชาติ จะได้รับการให้ออกแก่บุคคลดังต่อไปนี้
- พนักงานและผู้เชี่ยวชาญ
- เจ้าหน้าที่เทคนิค
- แรงงานที่มีฝีมือ
- ผู้ให้บริการหรือแรงงานทั่วไป
- ใบอนุญาตทํางานถาวรสําหรับชาวต่างชาติจะได้รับการออกให้แก่บุคคลดังต่อไปนี้
- ผู้อพยพชาวต่างชาติที่ได้รับรองโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
- นักลงทุนต่างประเทศและคู่สมรสที่ได้รับรองโดยสภาเพื่อการพัฒนาของกัมพูชา
หมายเหตุ : ใบอนุญาตทํางานทั้ง 2 ประเภทไม่รวมเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี สําหรับเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี จะ ได้รับการจดทะเบียนภายใต้ใบอนุญาตทํางานของพ่อแม่หรือผู้ปกครองเท่านั้น
ขั้นตอนในการยื่นขอใบอนุญาตทำงาน
- ใบขออนุญาตทํางานชั่วคราว ออกโดยกระทรวงแรงงาน เอกสารที่ต้องใช้มีดังนี้
- แบบฟอร์มใบสมัครที่ออกโดยกระทรวงมหาดไทย จํานวน 3 ชุด
- พาสปอร์ตหรือเอกสารแสดงตนอื่นๆ
- รูปถ่ายขนาด 4 x 6ไม่สวมหมวกหรือแว่นตา
- ใบรับรองแพทย์ และสัญญาจ้างงาน
- นโยบายการประกันการจ้างงานของบริษัทที่ออกโดยนายจ้าง หรือ บริษัทประกันภัย
- ค่าธรรมเนียมใบอนุญาตทํางานชั่วคราว
- ใบอนุญาตทํางานถาวรออกโดยกระทรวงแรงงาน เอกสารที่ต้องใช้มีดังนี้
- สําเนาเอกสารแสดงตัวผู้อพยพหรือผู้ลงทุน
- พาสปอร์ตหรือเอกสารแสดงตนอื่นๆ
- รูปถ่ายขนาด 4 x 6ไม่สวมหมวกหรือแว่นตา
- ใบรับรองการเงินจากธนาคารในกัมพูชา
- ค่าธรรมเนียมใบอนุญาตทํางานถาวร เอกสารต่าง ๆ จะต้องส่งให้สถานีตํารวจเทศบาลและกระทรวงมหาดไทยเพื่อตรวจสอบ ก่อนที่จะส่งให้ กระทรวงแรงงานจะให้การอนุมัต
แม้ว่าหลายปีที่ผ่านมากัมพูชาไม่ได้มีการบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับใบอนุญาตทํางานอย่างจริงจัง ทําให้การ จ้างพนักงานต่างชาติส่วนมาก โดยทําแค่ business visa เท่านั้น เพื่อให้พนักงานสามารถพํานักและเดิน ทางเข้าออกประเทศกัมพูชาได้อย่างสะดวก อย่างไรก็ตามในปี 2557 รัฐบาลกัมพูชาโดยกระทรวงแรงงานฯ ได้ ออกประกาศเตือนให้บริษัทต่างๆ ปฏิบัติตามกฎหมายเกี่ยวกับการจ้างแรงงานต่างชาติอย่างเคร่งครัด ดังนั้น บริษัทไทยที่เข้ามาดําเนินการในกัมพูชาควรปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎหมาย เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาที่จะเกิดขึ้นใน ภายหลัง